เตือนภัย “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ตัดต่อภาพตร. ปากขยับ ตาขยิบ หลอกเหยื่อโอนเงิน

เตือนภัย "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ตัดต่อภาพตร. ปากขยับ ตาขยิบ หลอกเหยื่อโอนเงิน
เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ผู้กำกับการ สภ.เมืองชลบุรี ออกมาเตือนภัยให้ระวัง แก็ง “คอลเซ็นเตอร์” หลอกหลายรูปแบบ ล่าสุดใช้ภาพตำรวจใช้แอปตัดต่อตาขยิบ ปากขยับ ใช้เสียงตัวเองหลอกใช้โอนเงินชำระค่าปรับการจราจร

10 มี.ค.2565  เมื่อเวลา14.00น. จากกรณี เพจ “อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น part 2” โพสต์ข้อความ ระบุว่า “แก็งคอลเซ็นเตอร์ เดี๋ยวนี้ไปถึงขนาดนี้แล้ว” พร้อมมีคลิปจากแอปฯ ติ๊กต๊อก เป็นภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่งเครื่องแบบสนทนากับทางผู้เสียหาย โดยอ้างเป็น ตร.สภ.ชลบุรี  แจ้งว่าว่าผู้เสียหายไปเช่ารถ แล้วทำผิดกฎจราจร ให้มีการโอนเงินค่าปรับ จนทำให้ชาวโซเชียล ไปแสดงความเห็น เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะมีการพูดถึงไม่น่าจะใช่ตำรวจจริง เป็นการตัดต่อมากกว่า แต่มีการนำภาพตำรวจจริงมา ใช้แอปตัดต่อ ตาขยิบ ปากขยับ ใช้เสียงตัวเองใส่เข้าไป

เตือนภัย "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ตัดต่อภาพตร. ปากขยับ ตาขยิบ หลอกเหยื่อโอนเงิน

 

 

ผู้สื่อข่าว จึงได้เดินทางมาที่  สภ.เมืองชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อเข้าพบกับทาง พ.ต.อ.นิทัศน์ แหวนประดับ ผู้กำกับการ สภ.เมืองชลบุรี ที่ต้องการอยากทราบว่า ตำรวจในรูปที่อยู่ในติ๊กต๊อก ใช้ตำรวจในสังกัด หรือ ไม่ ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าไม่ใช่ แต่ก็มีผู้เสียหายเดินทางมาแจ้งความอยู่ทุกวัน ไม่ว่า จะเป็นโอนเงินไปไม่ได้ของ รวมถึง อ้างเป็นตำรวจให้โอนเงินจ่ายค่าปรับ ซึ่งขอยืนยัน ไม่มีนโยบายนี้อย่างแน่นอน

 

 

เตือนภัย "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ตัดต่อภาพตร. ปากขยับ ตาขยิบ หลอกเหยื่อโอนเงิน

 

 

นอกจากนี้ทาง พ.ต.อ.นิทัศน์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มิจฉาชีพ ได้มาในรูปแบบใหม่ อ้างเป็นตำรวจโทรศัพท์แบบเปิดกล้อง และบอกว่ารถถูกสวมทะเบียน และไปกระทำความผิดด้านการจราจร ที่สงผลให้อาจจะต้องถูกดำเนินคดี จึงขอให้โอนเงินค่าปรับ ซึ่งในกรณีแบบนี้ ทางตำรวจอยากแจ้งเตือนภัยว่า ทาง สภ.เมืองชลบุรี ไม่มีการกระทำแบบนั้น ไม่มีการตั้งกล้องและออกใบสั่งไป ถึงจะโดนออกใบสั่งจากทางตำรวจโรงพัก หรือตำรวจทางหลวง

 

 

เตือนภัย "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ตัดต่อภาพตร. ปากขยับ ตาขยิบ หลอกเหยื่อโอนเงิน

 

เตือนภัย "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" ตัดต่อภาพตร. ปากขยับ ตาขยิบ หลอกเหยื่อโอนเงิน

 

 

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะไม่มีการโทรศัพท์ไปแจ้ง โทรไปคุย หรือโทรวีดีโอคอลหลอกให้หลงเชื่อว่าเป็นตำรวจจริง หากโอนใบสั่งแล้วไม่ใช่รถที่ใช้ ก็สามารถโต้แย้งไปที่สภ.นั้นได้ ส่วนภาพตำรวจที่ปรากฏเหมือนว่าจะใช้แอปตัดต่อ มาทำให้ผู้ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ จากที่ดูเหมือนว่าเป็นภาพตำรวจกำลังประชุมอยู่ ไม่ได้เกี่ยวข้องไม่ได้พูดกับผู้เสียหายเลย แต่สุดท้ายก็จะโน้มเน้าจนหลอกให้โอนเงินจนได้ ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็มีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จึงได้มีการเปิดเวปไชค์ ไทยโปลิศออนไลน์ดอดคอม ถ้าโดนหลอก สามารถเข้าไปแจ้งในเวปไซต์นี้ได้เลย

ที่มาkomchadluek.net