” พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์  แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบาลเมือง กูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็กเมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชน หัวซ้ายขุนสามชนขับมาหัวขว า ขุนสามชนเคลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อตั้งด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู พระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน “…
ข้อความข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่ปรากฏบนศิลาจารึก หลักที่ ๑ ด้านที่ ๑ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สลักบนแท่งหินชนวน  ศิลาจารึกนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของภาษาไทย ดังความตอนหนึ่งที่ปรากฏบนศิลาจารึกด้านที่ ๔ ของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่า   ” … เมื่อก่อนลายสือไทนี้บ่มี ๑๒๐๕ สกปีมแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสือไทนี้ลายสือไทนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใศ่ไว้ “…   นับได้ว่าเป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทย และภาษาไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการทางภาษาเรื่อยมาจนเป็นภาษาไทยในยุคปัจจุบัน

หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีลักษณะเป็นแท่งหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร กว้าง ๓๕ เซนติเมตร หนา ๓๕ เซนติเมตร เป็นหินชนวนสีเขียว มีจารึกทั้งสี่ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ มี ๒๗ บรรทัด และด้านที่ ๔ มี ๒๗ บรรทัด  ปัจจุบันแท่งศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงดังกล่าว   เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ได้ทรงประกอบราชกรณียกิจที่สำคัญไว้มากมาย สมควรกล่าวถึงดังนี้คือ
๑.  ทรงมีความเข้มแข็งในการรบ เมื่อมีพระชันษาเพียง ๑๙ ปี ได้ช่วยพระราชบิดาสู้รบศัตรูอย่างกล้าหาญได้ทรงชนช้างกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกกองทัพมารุกรานกรุงสุโขทัยจนได้ชัยชนะ พระราชบิดาจึงพระราชทานนามว่า ” พระรามคำแหง” เมื่อเป็นกษัตริย์แล้ว พระองค์ได้ทรงรบขยายอาณาจักรออกไปกว้างขวางมาก เป็นที่ยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งปวง

๒.  ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศใกล้เคียง เช่น ทรงเป็นเพื่อนสนิทกับพระยาเม็งราย (จ้าเมืองเชียงใหม่) และพระยางำเมือง (เจ้าเมืองพะเยา) แห่งอาณาจักรล้านนา ไกลออกไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน ซึ่งขณะนั้นมีกุบไลข่าน(พระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้)เป็นกษัตริย์ ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งยังได้ทรงนำช่างทำถ้วยชามชาวจีนมาสอนคนไทย ซึ่งเราเรียกว่า ” สังคโลก”

๓.  ทรงปกครองพลเมืองให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ได้โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง ผู้ใดมีทุกข์ร้อนก็มาสั่นกระดิ่งถวายฏีกาได้ ในวันโกนวันพระทรงได้นิมนต์พระภิกษุมาแสดงพระธรรมเทศนาบนแท่นมนังคศิลาบาตรกลางดงตาล ในวันธรรมดาพระองค์ก็เสด็จออกว่าราชการ  และให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และทรงอบรมศีลธรรมจรรยาแกราษฎร

๔.  ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖  ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก
จารึกที่คนไทยทำขึ้น ปรากฎหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อคนไทยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาในแถบลุ่มแม่น้ำยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้ประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖  ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก เป็นจารึกที่เก่าที่สุด และไม่มีลักษณะของรูปอักษรไทยที่แห่งไหนจะเก่าเท่า ถึงแม้จะพบจารึกอักษรไทยที่คนไทยทำขึ้น จำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย แต่หลักฐานการค้นพบปรากฎว่า จารึกเหล่านั้นมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา ทั้งสิ้น  รูปอักษรไทยในอาณาจักรสุโขทัยนั้น  ได้เป็นแม่แบบของรูปอักษรไทยในสมัยต่อมา

ที่มา : รักในหลวง ห่วงภาษาไทย: 2544,8
หนังสือเป็นธนาคารความรู้และออมสิน
“หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา  ทำมา  คิดมาแต่โบราณกาลจนทุกวันนี้หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ  เป็นคล้าย ๆ  ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน  เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้”
พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ

เมื่อวันที่  ๒๕  มิถุนายน  ๒๕๑๔

มนุษย์ในทุกสังคมมีภาษาพูดเป็นของตัวเองทั้งสิ้น นักภาษาประมาณว่าในโลกเรามีภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ทั้งหมดราวๆ ๓๐,๐๐๐  ภาษา แต่ไม่ถึง ๑๐๐ ภาษาที่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง และภาษาไทยก็เป็นภาษาหนึ่งในไม่ถึง ๑๐๐ ภาษานี้ด้วย

พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ หลังจากที่คนไทยรวมตัวกันเป็นบ้านเมือง และมีพระเจ้าแผ่นดินของตนเองแล้ว  ในสมัยนั้นชาวเขมร ชาวพม่า และชาวมอญที่อยู่ใกล้เคียงกับคนไทย มีการปกครองตนเอง และมีอักษรเป็นภาษาของตนเองใช้แล้ว และเพื่อนบ้านเหล่านี้มีจารึกเกี่ยวกับบ้านเมืองของตนเอง เขียนด้วยภาษาของตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อคนไทยมีบ้านเมือง และมีการปกครองเป็นของตนเอง ก็จำเป็นที่จะต้องมีภาษาเขียนของตนเองด้วย เพื่อให้มีฐานะเท่าเทียมเพื่อนบ้าน พ่อขุนรามคำแหงจึงได้คิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เพื่อให้ชาวไทยใช้เขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ

พยัญชนะไทย ในสมัยสุโขทัย
ในการจารึกอักษรไทยครั้งแรกนั้น ได้ใช้พยัญชนะไม่ครบทั้ง ๔๔ ตัว คือมีเพืยง ๓๙ ตัว โดยขาด ตัว ฌ ฑ ฒ  ฬ และตัว ฮ  ไม่ครบชุดพยัญชนะเหมือนที่ใช้สอนวิชาภาษาไทยในปัจจุบัน  ในบรรดาตัวอักษร ๔๔  ตัว ที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีอยู่ ๒ ตัว ที่เราเลิกใช้ไปแล้ว คือ ฃ (ขอขวด)  และ ฅ (คอคน) ที่เราเลิกใช้ก็เพราะเสียง ๒ เสียงนี้เปลี่ยนไปแล้วกลายเป็นเสียงเดียวกันกับ  ข  (ขอไข่)  ค (คอควาย)

สระ
การเขียนสระในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ต่างจากการเขียนสระในปัจจุบันมาก ทั้งรูปร่างสระ และวิธีการเขียน กล่าวคือ เขียนสระอยู่ในบรรทัดเช่นเดียวกับพยัญชนะ

วรรณยุกต์
รูปวรรณยุกต์ที่ใช้เขียนกำกับในยุคสุโขทัย มีเพียง ๒ รูป คือไม้เอก  และไม้โท แต่ไม้โทใช้เป็นเครื่องหมายกากบาทแทน

การค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง)
ศิลาจารึกนี้มีประวัติแห่งการค้นพบ คือ เมื่อ พ.ศ.  ๒๓๗๖  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงเห็นราษฎรเซ่นสรวงบูชาหลักศิลาจารึก ๒ หลัก กับแท่นหินอีก ๑ แท่น โดยที่เขาเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  จึงทรงตรวจดูด้วยวิจารณญาณของนักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ ก็ทรงทราบว่า ของเหล่านั้นมีความสำคัญเกี่ยวกับชาติไทยในอดีต มิควรจะปล่อยไว้ให้สูญเสีย จึงทรงนำเข้ามาในพระนคร ในที่สุดหลังจากทรงวิจัยอย่างรอบคอบแล้วก็ได้ความจริงว่า ศิลาจารึกหลักหนึ่งเป็นของพ่อขุนรามคำแหง  อีกหลักหนึ่งเป็นของพระมหาธรรมราชาลิไท และแท่นหินนั้นก็ คือ พระแท่นมนังคศิลา ของพ่อขุนรามคำแหง

ที่มา : ครูจรินทร์  เงินจันทร์                                   PREVIOUS

ที่มา : www.archive.clib.psu.ac.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *