ddproperty.com/ที่มาภาพ

ค่าไฟหน่วยละกี่บาท

ค่าไฟหน่วยละกี่บาทนั้นจะถูกเก็บโดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟผ.) ผู้มีหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน และผู้ใช้งานอื่น ๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน อัตราค่าไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้งาน ได้แก่ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย, กิจการขนาดเล็ก, กิจการขนาดกลาง, กิจการขนาใหญ่, กิจการเฉพาะอย่าง, องค์กรไม่แสวงหากำไร, กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร และผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว

การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนจะจัดอยู่ในประเภทที่ 1 ในกลุ่มนี้ยังแบ่งประเภทของการใช้ไฟฟ้าเป็น 3 แบบ ได้แก่
– อัตราค่าไฟบ้านอยู่อาศัยประเภทที่ 1 คือ บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน เริ่มต้นที่หน่วยละ 2.3488 บาท ถึง หน่วยละ 4.4217 บาท (ค่าบริการ 8.19 บาทต่อเดือน)
– อัตราค่าไฟบ้านอยู่อาศัยประเภทที่ 2 คือ บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน เริ่มต้นที่หน่วยละ 3.2484 บาท ถึง หน่วยละ 4.4217 บาท (ค่าบริการ 38.22 บาทต่อเดือน)
– อัตราค่าไฟบ้านอยู่อาศัยประเภทที่ 3 หรือ TOU คือ บ้านอยู่อาศัยที่ขอติดตั้งมิเตอร์แบบคิดค่าไฟตามช่วงเวลาของการใช้งาน ในช่วง Peak หรือ Off Peak เริ่มต้นที่หน่วยละ 2.6037 บาท ถึง หน่วยละ 5.7982 บาท (ค่าบริการ 38.22 หรือ 312.24 บาทต่อเดือน)

สำหรับผู้อยู่อาศัยประเภทห้องพัก ห้องเช่า อาจจะไม่ถูกเรียกเก็บจากการไฟฟ้าโดยตรง โดยห้องพัก ห้องเช่าส่วนใหญ่จะคิดค่าไฟเป็นหน่วยด้วยอัตราคงที่ไม่ว่าจะใช้ไฟมากหรือน้อยก็ตาม ทั้งนี้สามารถสอบถามอัตราค่าไฟจากผู้ให้บริการห้องพักได้

อัตราการคิดค่าไฟฟ้า และค่าบริการ

อัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้เริ่มใช้ตั้งแต่ค่าไฟฟ้า จาก www.mea.or.th/profile/109/111

ที่มา.thairath.co.th