1.ความปลอดภัยบนเครือข่าย loT

การทำให้ระบบ loT ให้โครงข่ายมีความปลอดภัยก่อน เพราะความปลอดภัยของระบบ loT มีความแตกต่างจากเครือข่ายปกติ เนื่องจากมีการใช้โปรโตคอล มาตราฐานและอุปกรณ์ที่หลากหลายจึงมีความซับซ้อนในการรักษาความปลอดภัย

2.การยืนยันตัวตนบน loT

การพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันตัวตนช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ สามารถบริหารจัดการผู้ใช้งานเมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์ loT

3.การเข้ารหัสข้อมูลบน loT

พัฒนาระบบหลังบ้านให้รองรับกับอุปกรณ์ IoT ประเภทต่างๆ และอัลกอริธึมสำหรับรหัสข้อมูลระหว่าง IoT รวมไปถึงกระบวนการเข้ารหัสข้อมูลทั้ง Liftcycle เช่น การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส จะถูกทำให้เป็นมาตรฐานที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT ต้องปฏิบัติตาม เพื่อปกป้องความลับและความถูกต้องของข้อมูลจากแฮกเกอร์

4.PKI สำหรับ loT

การสร้าง Public/Private Key การแจกจ่าย การจัดการ หรือการยกเลิกใช้ เจ้าของผลิตภัณฑ์หลายรายพร้อมที่จะพัฒนาโซลูชันสำหรับบริหารจัดการกุญแจสำหรับเข้ารหัสข้อมูลที่พร้อมรองรับอุปกรณ์ IoT หลากหลายรูปแบบมากขึ้น

 5.การทำ Security Analytics บน IoT

การใช้อุปกรณ์ IoT เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาเหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือขัดกับนโยบายด้านความปลอดภัยได้ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะมีการนำ AI, Machine Learning และ Big Data Analytics เข้ามาใช้เพื่อสร้างโมเดลสำหรับคาดการณ์และตรวจจับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงลดอัตราการเกิด False Positive ได้ การทำ Security Analytics บนอุปกรณ์ IoT นี้จะเข้ามาปิดจุดอ่อนของระบบรักษาความปลอดภัยแบบเดิมที่ไม่สามารถตรวจจับและป้องกันการโจมตีที่พุ่งเป้าอุปกรณ์ IoT ได้

 6.ความปลอดภัยของ API บน IoT

หัวใจสำคัญในการปกป้องความถูกต้องของข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ IoT เป็นความปลอดภัยของ API และระบบหลังบ้าน เพื่อให้มั่นใจว่า เฉพาะอุปกรณ์ ผู้ใช้ และแอปพลิเคชันที่ผ่านการพิสูจน์ตัวตนและมีสิทธิ์เท่านั้น ที่จะสามารถติดต่อสื่อสารผ่านทาง API ได้ นอกจากนั้นยังช่วยตรวจจับภัยคุกคามและการโจมตีที่พุ่งเป้ามายัง API ได้อีกด้วย

.