Cyber-Security

การรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ต้องมีการควบคุมเป็นระบบ เพื่อให้การทำ Digital Transformation เดินหน้าต่อไปอย่างปลอดภัย โดยรวมแล้ว Cyber Security เป็นสิ่งจำเป็นในการควบคุม Computer Systems จากพฤติกรรมที่น่าสงสัย ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องง่าย ทั้งประชาชนทั่วไปและองค์กร ต่างใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น จึงเป็นช่องทางที่อาชญากรทางไซเบอร์สามารถเข้ามาสร้างความเสียหายได้ ดังนั้น Cyber Security จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ส่งผลให้องค์กรที่มีการทำ Digital Transformation เดินหน้าได้อย่างไม่มีสะดุด และรับมือได้ในทุกสถานการณ์

ภัยคุกคาม (Threat) หมายถึง สิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณสมบัติของข้อมูลด้านใดด้านหนึ่งหรือ มากกว่าหนึ่ง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายนี้ เราจะเรียกว่าการโจมตี (Attack) ส่วนผู้ที่ทําให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เรียกว่า ผู้โจมตี (Attacker) หรือเรียกว่า แฮคเกอร์ (Hacker)) ภัยคุกคามที่จะสร้างปัญหาให้กับธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่

Malware

เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อโจมตีทางไซเบอร์ สามารถแพร่กระจายตัวเองจนสร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ทำให้ข้อมูลเสียหาย หรือขัดขวางการทำงานของระบบ รวมถึงการเปิดช่องให้ผู้โจมตีเข้าถึงเพื่อดำเนินการที่เป็นอันตรายอื่นๆ ได้ไม่จำกัด

Ransomware

เป็น Malware ประเภทหนึ่งที่ล็อกไฟล์ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายผ่านการเข้ารหัส เพื่อเรียกร้องเงินค่าไถ่จำนวนมากแลกกับการถอดรหัสและปลดล็อกไฟล์เหล่านั้น ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อข้อมูลขององค์กรอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องยากที่จะกู้คืนข้อมูลกลับมา

Phishing

เป็นการส่งอีเมลและข้อความไปหลอกลวงเหยื่อโดยปลอมแปลงเป็นองค์กรหรือเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง โดยมีเจตนาที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลแอปพลิเคชันสำคัญต่างๆ  เป็นต้น

Advanced Persistent Threats (APTs)

เป็นการโจมตีทางไซเบอร์แบบกำหนดเป้าหมายระยะยาวกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยผู้โจมตีจะแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายและหลบหลีกการตรวจจับ  มักมีเป้าหมายเพื่อขโมยเงินหรือข้อมูลลูกค้า รวมทั้งการทำลายหรือขัดขวางระบบการทำงานขององค์กร

Code Injection

เป็นการส่งรหัสที่เป็นอันตรายไปยังระบบคอมพิวเตอร์และทำให้ระบบประมวลผลเรียกใช้รหัสนั้น จากนั้นจะใช้การแทรกโค้ดเพื่อเข้าควบคุมระบบต่างๆ เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือฐานข้อมูล และดำเนินการตามเป้าหมายที่ผู้โจมตีต้องการ

Denial of Service (DDoS)

เป็นการส่ง Traffic ปลอมจำนวนมากไปยังระบบคอมพิวเตอร์จนปริมาณการรับส่งข้อมูลเมล์ทำให้ผู้ใช้งานระบบที่มีสิทธิถูกต้องไม่สามารถเข้าถึงระบบการใช้งานได้ โดยผู้โจมตีสามารถทำให้ระบบช้าลงหรือหยุดทำงาน  ซึ่งเป็นการสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กรนั้นๆ

Bots and Automated Attacks

เป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่ดำเนินการโดยระบบอัตโนมัติที่เรียกว่า Bot ซึ่งสามารถสแกนหาช่องโหว่ของระบบจากการพยายามคาดเดารหัสผ่าน ติดระบบด้วยมัลแวร์  ตลอดจนวิธีการอื่นๆ ที่อีกมากมาย

Cyber-Security

ประเภท Cyber Security

ปัจจุบันทคโนโลยี Cyber Security  ได้มีการพัฒนาขึ้นมาหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้

Network Security หรือความปลอดภัยของเครือข่าย

เป็นการปกป้องเครือข่าย หรือป้องกันการถูกโจมตีและการบุกรุก Internal Networks โดยไม่ได้รับอนุญาต โดย Network Security ช่วยให้ Internal Networks มีความปลอดภัย และป้องกันการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานภายใน ซึ่งมักจัดทำโดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่ใช้นโยบายเกี่ยวกับรหัสผ่าน และการเข้าสู่ระบบที่คาดเดาได้ยาก ไฟร์วอลล์ การเข้ารหัส และซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส

Application Security หรือความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน

เป็นหนึ่งในมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อจัดการกับภัยคุกคามภายนอกที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันจำเป็นต้องมีการอัปเดตและทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันจากการถูกโจมตีจากบุคคลอื่น การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ นี้ต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เข้ามาช่วยตรวจสอบว่าระบบแอปพลิเคชันมีความปลอดภัยแค่ไหน

Cloud Security หรือความปลอดภัยบนคลาวด์

เป็นหนึ่งใน Cyber Security ที่ได้รับการพัฒนา เพื่อตรวจสอบและปกป้องข้อมูลที่จัดเก็บในระบบคลาวด์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ใช้งานว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์จะมีความปลออดภัยเช่นเดียวกับการจัดเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ต่างๆ   Cloud Security ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ Cloud ทั้งแบบส่วนตัว สาธารณะ และ Multi Cloud รวมถึงการปกป้องแอปพลิเคชัน API และฐานข้อมูลด้วยจุดควบคุมเดียว นอกจากนี้ การกำหนดค่าคุณสมบัติความปลอดภัยโดยเฉพาะคุณสมบัติการแยกเครือข่าย เช่น Virtual Private Cloud (VPC) ต้องมีโซลูชัน Identity and Access Management (IAM) ที่แข็งแกร่ง เพื่อกำหนดบัญชีผู้ใช้ บทบาท และนโยบายควบคุมการเข้าถึงที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพ

Data Security หรือความปลอดภัยของข้อมูล

ข้อมูลคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำ Digital Transformation เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะข้อมูลเป็นตัวบ่งบอกความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และสามารถนำมาคาดการณ์ความเป็นไปในอนาคตได้ ดังนั้น การป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล จะต้องให้สิทธิ์ในการเข้าถึงได้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์เท่านั้น และป้องกันไม่ให้บุคคลที่สามเข้าถึงข้อมูลโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

Operational Security หรือความปลอดภัยของการดำเนินการ

เป็นกระบวนการป้องกันข้อมูลที่ถือเป็นทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่ง และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น การกำหนดขอบเขตในการเข้าถึงเครือข่าย และกระบวนการในการระบุว่าข้อมูลควรถูกจัดเก็บไว้ที่ไหนและอย่างไรเพื่อความปลอดภัย ซึ่งต้องวางแผนกันตั้งแต่เริ่มต้น  เพื่อป้องกันการเข้ามาสร้างความเสียหาย เช่น การลอบดักฟังเพื่อมาล้วงข้อมูลต่าง ๆ กระบวนการนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีไว้เป็นอย่างมาก

Machine Learning

เทคโนโลยี Machine Learning คือ การวิเคราะห์และเปรียบเทียบเชิงบริบทโดยอ้างอิงจากการเรียนรู้ของเครื่องจักร เพื่อช่วยระบุพฤติกรรมทางไซเบอร์ที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย พร้อมจัดลำดับความสำคัญของการแจ้งเตือน จึงช่วยให้ทีมงานรักษาความปลอดภัยด้านไอทีทำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

API Security

API Security ช่วยปกป้องและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีเพียงการรับส่งข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงปลายทาง API ของเราได้ เช่นเดียวกับการตรวจจับและบล็อกการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของผู้โจมตี ซึ่งปัจจุบันมีการนำเสนอโซลูชันการป้องกัน API ที่ไม่ต้องบำรุงรักษาและสามารถปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของ API ได้โดยอัตโนมัติ

Advanced Bot Protection

เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยวิเคราะห์ปริมาณการใช้ Bot เพื่อระบุความผิดปกติและพฤติกรรมของ Bot ที่ไม่ดี โดยตรวจสอบผ่านกลไกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการรับส่งข้อมูลของผู้ใช้หรือ Bot ที่ดี รวมทั้งช่วยคัดกรองการเข้าถึงที่ไม่พึงประสงค์ตามแหล่งที่มา ภูมิศาสตร์ รูปแบบ หรือ IP ที่ถูกขึ้นบัญชีดำออกจากระบบ

File Security

เป็นเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของไฟล์สามารถระบุกิจกรรมของไฟล์ที่น่าสงสัยได้โดยอัตโนมัติ เช่น ไฟล์ที่แสดงถึงความพยายามในการขโมยข้อมูล การโจมตีของ Ransomware หรือแม้แต่ความผิดพลาดของผู้ใช้ที่ลบไฟล์โดยไม่ได้ตั้งใจหรือคัดลอกไฟล์ไปยังตำแหน่งที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ File Security ยังช่วยตรวจสอบการเข้าถึงของผู้ใช้ทั้งหมดอย่างต่อเนื่องไปยังระบบจัดเก็บไฟล์ขององค์กร และเก็บบันทึกรายละเอียดของกิจกรรมการเข้าถึงไฟล์ทั้งหมด รวมถึงการกำหนดผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษด้วย

Runtime Application Self-Protection (RASP)

เป็นเทคโนโลยีที่สามารถสแกนและตรวจสอบ Source Code ของแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจจับการโจมตีที่ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในโค้ด เช่น การแทรกโค้ดและการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่รู้จัก นอกจากนี้ ยังช่วยตรวจจับ Traffic และพฤติกรรมของผู้ใช้ หากพบปัญหาก็จะดำเนินการบล็อกคำขอของผู้ใช้และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านไอทีทันที

เทคนิคสร้างความปลอดภัยความปลอดภัยทางไซเบอร์ 

เพื่อเป็นการปกป้องธุรกิจจากการโจมตีของผู้ไม่หวังดี  คววรมดูแลองค์กรให้มีความปลอดภัยทางไซเบอร์   ควรมีการเตรียมความพร้อมรับมือเป็นอย่างดี ซึ่งในบทความนี้มีเคล็ดลับดีๆ มาฝากกัน

  1. กำหนดระดับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ – ระบุความเสี่ยงในธุรกิจของคุณ และวางแผนรับมือต่อความพยายามในการโจมตี
  2. จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ – ให้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแก่พนักงานในการประมวลผลข้อมูลลูกค้า โดยใช้อินเทอร์เน็ต เครือข่าย และแอปพลิเคชัน
  3. สำรองข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ – การสำรองข้อมูลไฟล์ในระบบคลาวด์อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณในกรณีที่ข้อมูลถูกขโมยไป
  4. ป้องกันรหัสผ่านทั้งหมด – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีรหัสผ่านที่รัดกุม และไม่ซ้ำใครในบัญชีต่าง ๆ ควรให้พนักงานเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างน้อยทุก ๆ สามเดือน
  5. ระมัดระวังอุปกรณ์ – ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบ และแอปพลิเคชันความปลอดภัย ด้วยการอัปเดตอัตโนมัติ สร้างเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) สำหรับผู้ปฏิบัติงานระยะไกล เป็นต้น
  6. การบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยปกป้องทรัพย์สิน การเงิน และชื่อเสียงของบริษัทของคุณ